Algorithm คืออะไร
เป็นส่วนหนึ่งในขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เกิดจากแนวคิดอย่างเป็นระบบเพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการและเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามความต้องการหรือแก้ปัญหาใด ๆ ประกอบด้วยชุดของการทำงานที่ชัดเจน ดังนั้นหากออกแบบอัลกอริทึมได้ดี เมื่อนำไปเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ใด ๆ ก็จะได้ผลลัพธ์ตามความต้องการ
โดยทั่วไปแล้วในชีวิตประจำวันของมนุษย์ ทั้งในการทำงานและการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์หรือไม่ก็ตามมักจะเกี่ยวข้องกับอัลกอริทึมอยู่แล้ว ยกตัวอย่างเช่น วิธีการปฐมพยาบาลตำราประกอบอาหาร เป็นต้น ซึ่งอธิบายขั้นตอนต่าง ๆ ด้วยภาษาที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย แต่ในด้านคอมพิวเตอร์นั้นจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้คำสั่งต่างๆ เพิ่มเติมเพื่อให้คอมพิวเตอร์ สามารถเข้าใจได้
ที่มาของคำว่าอัลกอริธึม (Algorithm)
คำที่ตั้งให้เป็นเกียรติแก่ อแลน เดอะ กอริทึม ทิวริง (Alan The Gorithm Turing) ผู้ค้นพบว่าการพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์หรือปัญหาทางตรรกะ สามารถหาคำตอบได้ด้วยชุดของขั้นตอนวิธีที่ถูกต้อง
ประโยชน์ของอัลกอริธึม (Algorithm)
ทำให้ไม่สับสนกับวิธีดำเนินงาน เพราะทุกอย่างจะถูกจัด
เรียงเป็นขั้นตอนมีวิธีการและทางเลือกไว้ให้ เมื่อนำมาใช้จะ
ทำให้การทำงานสำเร็จอย่างรวดเร็ว ทำให้ปัญหาลดลงหรือ
สามารถค้นหาต้นเหตุของปัญหาได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจาก
กระบวนการถูกแยกแยะกิจกรรม ขั้นตอน และความสัมพันธ์
ออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน
ตัวอย่างการเขียนอัลกอริทึม
ตัวอย่างที่ 1 การเขียนซูโดโค้ด สำหรับให้คอมพิวเตอร์หาค่าเฉลี่ยจากข้อมูลที่รับเข้าทางแป้นพิมพ์ ถ้าใส่ค่าศูนย์แสดงว่าหยุดป้อนข้อมูล เขียนได้ดังนี้
ตัวอย่างการเขียนอัลกอริทึม
ตัวอย่างที่ 1 การเขียนซูโดโค้ด สำหรับให้คอมพิวเตอร์หาค่าเฉลี่ยจากข้อมูลที่รับเข้าทางแป้นพิมพ์ ถ้าใส่ค่าศูนย์แสดงว่าหยุดป้อนข้อมูล เขียนได้ดังนี้
Algorithm การหาค่าเฉลี่ย
1. เริ่มต้น
2. ตัวนับ = 0
3. ผลรวม = 0
4. รับค่าทางแป้นพิมพ์เก็บไว้ในตัวแปร (ข้อมูล)
5. ถ้า ข้อมูล มากกว่า 0
เพิ่มค่าตัวนับขึ้นหนึ่งค่า
ผลรวม = ผลรวม + ค่าข้อมูล
ย้อนกลับไปทำขั้นตอนที่ 3
ถ้าไม่มากกว่าไปทำขั้นตอนที่ 5
6. ค่าเฉลี่ย = ผลรวมหารด้วยตัวนับ
7. แสดงค่าเฉลี่ยทางจอภาพ (ทศนิยมสองตำแหน่ง)
จบ
ตัวอย่างที่ 2 การเขียนซูโดโค้ด คำนวณหาพื้นที่สามเหลี่ยม หรือเขียนเป็นภาษาอังกฤษได้ดังนี้
Algorithm การหาพื้นที่สามเหลี่ยม
1. เริ่มต้น
2. รับค่าความยาวของฐานมาเก็บในตัวแปร X
3. รับค่าความยาวของสูงมาเก็บในตัวแปร Y
4. คำนวณหาพื้นที่ ARRAY = ( X*Y ) / 2
5. แสดงผลพื้นที่
จบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น